วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

วิหารเซียน มี 2

วิหารเซียน จ.ชลบุรี
ข้อมูล
.
7-3-63
ลายมือประธานาธิบดีเจียงไคเช็ค
 .โดยหนังสือสำคัญฉบับนี้ เป็นหลักฐานว่า กระทรวงวัฒนธรรมแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มอบโบราณวัตถุ และ ศิลปวัตถุ อันเป็นมรดกล้ำค่าของจีน จำนวน 328 รายการ ให้แก่นายสง่า กุลกอบเกียรติ เพื่อจัดแสดง ณ อเนกกุศลศาลา (วิหารเซียน) สำหรับให้ประชาชนชาวไทย และผู้สนใจโดยทั่วไปได้เข้าชมเพื่อการศึกษาค้นคว้า


.ประวัติ อาจารย์สง่า กุลกอบเกียรติ (ย่อ)
   อาจารย์เป็นคนกรุงเทพฯ โดยกำเนิด เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2468 โตที่ประเทศจีน ท่านเป็นเชษฐบุรุษผู้อุทิศตนทำงานเผยแพร่วัฒนธรรมไทยจีน โดยมีส่วนสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์ไทย-จีนมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทั้งนี้ ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านภูมิทัศน์ หรือศาสตร์ฮวงจุ้ยของจีนเป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจของชนทุกชนชั้น ท่านเมตตาช่วยเหลือโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง จึงทำให้มีชื่อเสียงเลื่องลือไปไกลทั้งในและต่างประเทศ โดยต่างยกย่องนับถือในคุณวิเศษของท่านทั้งในด้านปรัชาญาณและความเป็นผู้มีคุณธรรมโดยเพียบพร้อม นับเป็นแบบอย่างของผู้เสียสละประโยชน์ส่วนตนในการสร้างสรรค์ประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวม เป็นการตอบแทนคุณประเทศชาติและมาตุภูมิ

   ทั้งนี้ ท่านได้ฝากผลงานอันนับเป็นสมบัติล้ำค่าให้แก่แผ่นดินไทย-จีน อันได้แก่ "อเนกกุศลศาลา (วิหารเซียน) แห่งนี้ ซึ่งเป็นนฤมิตกรรมที่รวมศิลปกรรมไทย-จีนที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ รวมทั้งได้เป็นผู้นำคนสำคัญในการก่อสร้างวิหารเซียน ที่เมืองแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการเผยแพร่วัฒนธรรมของทั้ง 2 ประเทศ

   อาจารย์เซียนสง่า ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม 2546 เพื่อเป็นการระลึงถึงคุณความดีที่ท่านบำเพ็ญไว้อย่างเป็นอเนกประการ บรรดาญาติมิตรและคณะศิลย์จึงได้จัดสร้างรูปหล่อนี้ขึ้นเพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณของท่านให้ปรากฎสืบนานไป
.
.

.
.ลายมือของบุตรชายของ ดร.ซุนยัดเซ็น

   ที่ซุ้มประตูทางเข้าด้านใน มีลายมือของท่านซุนเคอ บุตรชายของ ดร.ซุนยัดเซ็น ที่เขียนให้แก่ อาจารย์ สง่า กุลกอบเกียรติ โดยเฉพาะ ซึ่งแกะสลักบนหินแกรนิต ประดับอยู่ด้านบนของซุ้มประตู จารึกเป็นอักษรจีน 4 ตัว อ่านว่า จู้ เหลิน วุ่ย เล่อ (ภาษาจีนกลาง) มีความหมายเป็นอนุสติเตือนให้ระลึกว่า "การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์นั้นย่อมเป็นสุข" ซึ่งอเนกกุศลศาลา หรือ วิหารเซียนแห่งนี้ ก็คือ สัญลักษณ์ของความสุขจากการได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ให้ได้รับความปิติภาคภูมิใจในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมแห่งมนุษยชาตินั่นเอง

ศาลาสักการะบูชา
   นอกจากที่จะได้ชื่นชมความงามของรูปหล่อเทพเจ้าเป็นจำนวนมากบริเวณลานด้านหน้าแล้ว ยังมีศาลาสักการะบูชาสถานที่ ในรูปแบบศิลปะจีน เพื่อให้ผู้เข้าชมได้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวง ณ สถานที่แห่งนี้ นอกจากนั้นแล้ว ยังมีกระถางธูปขนาดใหญ่หนักประมาณ 1 ตัน ที่หล่อในรูปแบบที่ไม่เหมือนกระถางรูปทั่วๆ ไป โดยรูปแบบของกระถางธูปเป็นขอนไม้มีนกกระเรียนเกาะและมีต้นสนปกคลุมอยู่ด้านบน ซึ่งชาวจีนถือเป็นสัญลักษณ์มงคลแห่งการมีอายุยืน นอกจากนั้น ยังมีกระถางเผากำยานรูปสิงโตที่งดงามอีก 1 คู่

รูปหล่อโลหะ 8 เซียนข้ามทะเล
    
   บริเวณลานด้านหน้าของอาคาร มีรูปหล่อโลหะชุด 8 เซียนข้ามทะเลขนาดใหญ่ ที่อาจจะเป็นรูปหล่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก รูปหล่อโลหะชุดนี้ มีความยาวถึง 11 เมตร สูง 4 เมตร ซึ่งเซียนทั้ง 8 องค์นี้ เป็นเซียนในลัทธิเต๋าที่ชาวจีนส่วนมากเคารพนับถือ รูปหล่อโลหะชุดนี้ ประกอบด้วยเซียน 8 องค์ที่กำลังอยู่บนแพที่ทำขึ้นจากสิ่งวิเศษประจำตัวของแต่ละองค์ โดย 8 เซียนกำลังล่องแพข้ามมหาสมุทรเพื่อไปคารวะพระแม่สวรรค์ตะวันตก

   8 เซียนนี้ ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดี และเป็นบุคคลที่สำคัญในตำนานลัทธิเต๋าของจีน โดยถือเป็นศูนย์กลางแห่งตำนานลัทธิเต๋า ซึ่งทั้ง 8 เซียนนี้ ไม่ใช่เทพเจ้า ได้มีการกล่าวว่า ทุกองค์บรรลุภาวะการเป็นอมตะ (เซียน) จากการฝึกฝนตามแนวทางของเต๋า นอกจากนั้นแล้ว ยังมีตำนานอีกมากมายเกี่ยวกับพลังศักดิ์สิทธิ์และเรื่องอภินิหารย์ของ 8 เซียนนี้

   เซียนทั้ง 8 องค์นี้ ถือเป็นตัวอย่างแห่งการปฏิบัติศีลปฏิบัติชอบ เพื่อให้บุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถบรรลุถึงความสำเร็จ หรือการเป็นอมตะ ซึ่งแต่ละองค์เกิดมาเป็นบุคคลธรรมและบรรลุถึงความเป็นอมตะโดยหลากหลายวิธี เช่น การมีใจดีมีเมตตาไม่เห็นแก่ตัว หรือการปฏิบัติตามคำสอนของอาจารย์ใหญ่ (เล่าจื้อ) เป็นต้น โดยรูปหล่อที่ยิ่งใหญ่ชุดนี้ จัดทำขึ้นในประเทศไทย
ภาพเขียนเก่าแก่รูป 8 เซียน 

  รูปภาพ 8 เซียน จำนวน 8 ภาพนี้ มีอายุเก่าแก่มากกว่า 500 ปี ซึ่งเขียนโดย เฉิน หง โชว ศิลปินผู้มีชื่อเสียงอย่างมากในยุคราชวงศ์หมิง ถึงแม้ภาพเหล่านี้จะมีอายุเก่าแก่มากแล้วก็ตาม แต่สีและรายละเอียดของภาพนั้นยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มาก ซึ่งภาพเขียน 8 เซียนชุดนี้ ถือเป็นชุดต้นฉบับของรูป 8 เซียนที่มีให้เห็นอยู่ในทุกวันนี้ โดยชื่อของเซียนทั้ง 8 องค์มีดังนี้ 

1.เซียนลี้ทิก้วย ถือไม้เท้าและสะพายน้ำเต้าเป็นสัญลักษณ์มงคล

2.เซียนฮั้นเจงลี้ ถือพัดเป็นสัญลักษณ์มงคล

3.เซียนลื่อท่งปิง สะพายกระบี่และถือแส้จามรเป็นสัญลักษณ์มงคล

4.เซียนเจียงกั๋วเล่า ถือกระบอกไม้ไผ่เป็นสัญลักษณ์มงคล

5.เซียนฮ้อเซียนโกว ถือดอกบัวเป็นสัญลักษณ์มงคล

6.เซียนหน่าไฉฮั้ว ถือกระเช้าดอกไม้เป็นสัญลักษณ์มงคล

7.เซียนฮั่งเซียงจื้อ ถือขลุ่ยเป็นสัญลักษณ์มงคล

8.เซียนเฉ่ากกกู๋ ถือกรับเป็นสัญลักษณ์มงคล


โป๊ยเซียน
.
.พระสังกระจาย
รูปหล่อพระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์
   พระโพธิสัตว์องค์นี้ มีนามในภาษาจีนว่า "พูไต" ซึ่งมีความหมายว่า "ถุงย่าม" จากการที่กิจวัตรของท่านคือการท่องเที่ยวไปทั่ว โดยมีถุงย่ามขอทานและพายหลังไปตลอด พูไต บ้างก็จะรู้จักกันในนามของ "พระถุงย่าม" ผู้คนเชื่อว่า ท่านสามารถที่จะพยากรณ์อากาศได้ และชีวิตของท่านนั้น เต็มไปด้วยเหตุการณ์มหัศจรรย์ ท่านได้เดินทางไปทั่วประเทศด้วยความชื่นบานและเป็นเพื่อนกับเด็กๆ ทั่วไป เมื่อท่านสิ้นชีวิตลง ท่านได้แสดงอภินิหารย์ให้เห็นว่า ท่านเป็นการมาจุติของพระศรีอารยเมตไตรยโพธิสัตว์ ซึ่งก็คือ การที่จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต นอกจากนั้น ท่านยังรู้จักกันในนามของ "พระยิ้ม" ในแบบของชาวจีนนั้น ท่านจะมีรูปลักษณะเป็นพระอ้วนและมีรอยยิ้มกว้าง มือหนึ่งจะถือถุงย่าม และอีกมือหนึ่งถือลูกประคำ ผู้คนเคารพสักการะท่านเพื่อขอให้โชคดีและร่ำรวย

  บริเวณลานหน้าอาคาร มีรูปหล่อโลหะของพระศรีอารยเมตไตรยโพธิสัตว์ จำนวน 4 องค์ โดยองค์ที่ใหญ่ที่สุดมีความสูงถึง 3.50 เมตร รูปหล่อโลหะทั้ง 4 องค์นี้ จัดสร้างขึ้นในประเทศไทย
เทพาจารย์ โง้ว มั่ง อู้

9  มังกรบังคมจอมจักรพรรดิ์ราช

   งานปูนปั้นอลังการบนผนังด้านในเป็นรูป 9 มังกร 5 เล็บเหินบินเหนือเมฆคารวะจอมจักรพรรดิราช งานปั้นมังกรชุดนี้ใช้เวลาในการสร้างเกือบ 1 ปี โดยมังกรทั้งหมดนี้ถูกปิดด้วยแผ่นทองคำแท้ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้เวลานานก็เพื่อกำจัดความเค็มในปูนซีเมนต์ จะได้ป้องกันไม่ให้แผ่นทองแตกกระเทาะหรือเป็นรอยแตกร้าว

   ในประเทศจีนนั้นมังกรนั้นถือเป็นสิ่งมีชีิวิตที่ศักดิ์สิทธิ์และบ่อยครั้งที่มังกรถูกนำมาเกี่ยวข้องกับจักรพรรดิ์ของประเทศจีน มังกรยังถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี และเป็นส่วนที่สำคัญในการฉลองเทศกาลปีใหม่ของชาวจีน นอกจากนั้นแล้ว มังกรยังถูกใช้เป็นตัวแทนของผู้ฉลาด และ ในปากของมังกรยังมี "ไข่มุกของความฉลาด" นักปราชญ์และผู้รอบรู้ยังถูกเรียกว่า มนุษย์มังกร

   งานปูนปั้น 9 เก้ามังกรนี้ถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนในการกราบบังคมองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมังกรนี้ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัติรย์ในความเชื่อของชาวจีน และตัวเลข 9 นี้ ถือเป็นตัวเลขมงคลของชาวจีนเช่นเดียวกับคนไทย นอกจากนั้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรรี

   สำหรับประตูกระจกทางเข้าอาคารนั้น ได้มีการแกะสลักรูปของเทพพิทักษ์ประตู 2 องค์ ลงบนประตูกระจกอย่างสวยงาม เทพพิทักษ์ประตูนี้ เป็นเทพเจ้าคู่หนึ่งที่มีหน้าที่ในการคอยดูแลปกป้องทางเข้าอาคารหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งในความเชื่อของชาวจีนนั้น เทพเจ้าพิทักษ์ประตู 2 องค์นี้ จะคอยดูแลปกป้องวิญญาณ ภูติผีปีศาจ และสิ่งไม่ดีต่างๆ ไม่ให้เข้าไปในอาคารได้   
.ลายมือพระอนุชาของพระจักรพรรดิ์องค์สุดท้าย

  เหนือประตูทางเข้าอาคาร เป็นลายมือพู่กันของท่านฝูเจ่ พระอนุชาของจักรพรรดิ์ฟูยี จักรพรรดิ์องค์สุดท้ายของประเทศจีน (ราชวงศ์เช็ง) ซึ่งท่านได้เขียนตัวหนังสือชุดนี้ให้แก่ อาจารย์ สง่า กุลกอบเกียรติ เมื่อท่านอายุได้ 90 ปี ตัวหนังสือ 3 ตัวนี้ เป็นชื่อภาษาจีนของอเนกกุศลศาลา (วิหารเซียน) แห่งนี้ อ่านว่า "ด้าน ฝู เอยี้ยน" (ภาษาจีนกลาง) ที่มีความหมายว่า "สถานที่ที่มีบรรยากาศดั่งสรวงสวรรค์ หรือ วิหารเซียน" ซึ่งลายมือที่งดงามแบบนี้ใช้เฉพาะในราชสำนักเท่านั้น

   ด้านข้างทั้ง 2 ของแผ่นป้ายชื่ออเนกกุศลศาลา (วิหารเซียน) นี้ มีงานปูนปั้นอลังการรูปมังกร 5 เล็บปิดทองแบบลอยตัวที่ 2 ตัว หันหน้าเข้าหาแผ่นป้าย แต่ละตัวมีความยาว 14 เมตร งานปูนปั้นมังกรชุดนี้มีชื่อว่า "มังกรคู่ถวายฑีฆายุกาพร" สำหรับงานปั้นปูนรูปมังกรทั้งหมดในสถานที่แห่งนี้มีทั้งหมด 31 ตัว ซึ่งเท่ากับเลขที่ของปีแรกที่เริ่มก่อสร้าง อันได้แก่ปี พ.ศ. 2531

.ท้าวจตุโลกบาล

  ผู้พิทักษ์สวรรค์ หรือ เทวะราชา หรือ ในภาษาสันสกฤตว่า จตุมหาราชา หรือ โลกาปาลาศ เป็น 4 พี่น้องชาวอินเดีย พวกเขาเป็นผู้พิทักษ์และปกครองผืนแผ่นดินทั้ง 4 ทิศของเขาชูเมอรู (Mount Sumeru) ที่ตั้งแห่งสวรรค์ ผู้คนเคารพบูชาท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 องค์นี้ในฐานะที่เป็นเทพผู้พิทักษ์ปกป้องวัดทางพุทธศาสนา เทพทั้ง 4 นี้ปกป้องโลกให้ปลอดภัยจากการรังควานของภูติผีปีศาจ และรูปปั้นรูปหล่อของเทพทั้ง 4 นี้จะพบเห็นในทางเข้าวัดทางพุทธศาสนา โดยตั้งอยู่ 2 ข้างของทางเข้า โดยชื่อและบุคลิกลักษณะของเทพทั้ง 4 องค์นี้ มีดังนี้

1.ท้าวธตรฐมหาราช เทพผู้พิทักษ์ทิศตะวันออก หรือ มีชื่อว่า โมลีชิง มีใบหน้าสีขาว สีหน้าแสดงความดุร้าย เส้นผมและหนวดคล้ายเส้นลวดทองแดง มือถือแหวนหยก หอก และ ดาบวิเศษ ท่านเป็นพี่ชายคนโตที่สุดในบรรดาเทพทั้ง 4 องค์นี้

2.ท้าววิรูปักษ์มหาราช เทพผู้พิทักษ์ทิศตะวันตก หรือ มีชื่อเรียกว่า โมลีไห มีใบหน้าสีฟ้า และมือถือพิณ 4 สาย

3.ท้าววิรุฬหกมหาราช เทพผู้พิทักษ์ทิศใต้ หรือ มีชื่อเรียกว่า โมสีฮุง มีใบหน้าสีแดง และมือถือร่ม

4.ท้าวกุเวรมหาราช หรือ ท้าวเวสัณ เทพผู้พิทักษ์ทิศเหนือ หรือ มีชื่อเรียกว่า โมลีโซว มีใบหน้าสีดำ มือถือแส้ 2 อัน และถุงหนังเสือดำ นอกจากนั้น ยังถือไข่มุกในมือด้วย
.
.
เจ้าแม่กวนอิม
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (กวนอิม) 
  รูปหล่อสำริดโบราณสมัยราชวงศ์ถัง



.เทวีแห่งสวรรค์ (ม้าโจ้ว) พร้อมสาวก

.



.
.
.


.

.เฮ้งเจีย
.
.
จิ๋นซีฮ่องเต้
หุ่นทหารของจิ๋นซีฮ่องเต้
.ท่านเปาบุ้นจิ้น

.
ครุฑ
.ท่านกวนอู อดิเทพผู้ทรงความซื่อสัตย์
.
.
.
.
.
.
.
.

อื่นๆ
.
ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูล ภาพ คลิปทุกท่านค่ะ